วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

ผังปฏิบัติธรรม






รูปฌาน ๔
เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกศา
อิทธิบาท ๔
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
พละ ๕
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
โพชฌงค์ ๗
สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ
ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
มรรค ๘
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา
สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
อเนญชธรรม
หรืออเนญชาภิสังขาร หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่งภพ อันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แต่ภาวจิตมั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแต่จตุตถฌาน
(ฌาน ๔)
โคตรภู
หมายถึงผู้ที่ตั้งอยู่ในฌานซึ่งเป็นลำดับที่จะถึง
อริยมรรคหรือผู้อยู่ในหัวต่อระหว่างความเป็น
ปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล(พระอริยบุคคล มี ๔ ขั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามี และพระอรหันต์)
เพียร ๔
หรือสัมมาวายาโม ได้แก่ปรารภความเพียรประคองจิตไว้เพื่อ
๑. ยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้
เกิดขึ้น
๒. ละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. พัฒนากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้งอกงาม
ยิ่งขึ้น




1 ความคิดเห็น:

  1. พี่คะภาพเปิดไม่ได้อยากเห็นมาก จะทำไงดีคะ ฮื่อ อยากรู้บอกเอาบุญได้ไหมคะ สาธุคะ

    ตอบลบ